วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์ไทย

     ประวัติศาสตร์ไทย เริ่มขึ้นตั้งแต่การอพยพย้ายเข้ามาของกลุ่มคนพูดภาษาไท-ลาวจากถิ่นบรรพบุรุษซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนเดิม เข้ามายังดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราวคริสต์ ศตวรรษที่ 10 อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานอยู่ก่อนแล้ว โดยมีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่าเป็นต้นมา คือ ราว 10,000 ปีที่แล้ว แต่สำหรับรัฐของคนไทยแล้ว ตามตำนานโยนกได้บันทึกว่า การก่อตั้งอาณาจักรของคนไทยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1400[1]

     การล่มสลายของจักรวรรดิขะแมร์ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์[2]

     พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราช ของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการ ปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของ อาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศ อิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา

     ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310 ในที่สุด พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้น เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

     การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย

     วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

     หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548

ที่มาของคำว่าไทย

คำว่า "ไทย" นั้นแม้พ้องเสียงกับคำว่า "ไท" หรือ "ไต" ซึ่งเป็นชื่อเรียกตัวเองของกลุ่มคนที่ตั้งถื่นฐานอยู่ในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน แต่ชื่อ "ไทย" หรือ "ประเทศไทย" นั้นได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2482 แทนชื่อ ประเทศสยาม

อย่างไรก็ตาม คำว่า ไทย หรือ ไท ได้ปรากฏเป็นชื่อเรียกขานอาณาจักรหรือประเทศของผู้คนตั้งแต่ครั้งกรุง ศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น[ต้องการอ้างอิง] เอกสารราชการครั้งนั้นระบุคำว่า กรุงไทย หรือ กรุงไท ขณะเดียวกันก็ยังใช้คำว่า สยาม ร่วมไปด้วยขณะที่ชาวตะวันตกต่างนิยมเรียกว่า อาณาจักรสยาม จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในการศึกษาประเด็นดังกล่าว

หลัก ฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์

     นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น มนุษย์ชาวและมนุษย์ปักกิ่ง[3] ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบในจังหวัดอื่น ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายอีกด้วย[3] อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า

     ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัด โดยที่อำเภอไทรโยค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่น้ำกลองไหลผ่านได้ มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี[4] ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย อายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน[3] จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นถิ่นกำเนิด ของการกสิกรรมครั้งแรกของโลก[5] นอกจากนี้ยังค้นพบขวานหินขัดในหลายภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินใหม่[6]

     การขุดค้นโดยนายวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร ทำให้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหมติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดว่ามีอายุถึง 3,000 ปี[7] ก่อนที่การค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตำบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันว่ามีอายุ 5,000 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ไปส่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย[8] นายดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นขวานทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ยืนยันถึงการใช้เครื่องสำริดในยุคหินใหม่ ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี[6]

ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย

     นักมานุษยวิทยาได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่น แรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน[8] ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลัง[9] ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวก ละว้า[9]

 

แนว คิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท

แถบ เทือกเขาอัลไต

     แนวคิดดังกล่าวมาจากงานเขียนเรื่อง "หลักไทย" ของขุนวิจิตรมาตรา กล่าวว่าเดิมชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไตเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ต่อมา ได้อพยพลงมายังแม่น้ำฮวงโห เรียกว่า "อาณาจักรไทยมุง" หรือ "อาณาจักรไทยเมือง"[10] และได้อพยพลงมาอีกจนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซี แต่ต่อมาได้เสียเมืองให้กับจีน จึงต้องอพยพลงมาทางใต้ต่อไป[10] แนวคิดดังกล่าวไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ โดยได้มีผู้แสดงเหตุผลโต้แย้งหลายคน อย่างเช่น[10]

     * ศาสตราจารย์วิลห์ เครดเนอร์ เห็นว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทควรอยู่ในแถบแม่น้ำ และมีภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นทางตอนใต้ของจีน

     * ดร. ปอล เบเนดิกต์ เห็นว่า คนไทยไม่ได้มีเชื้อสายมาจากจีนหรือมองโกล เพราะรากศัพท์ที่แตกต่างกัน

     * ศจ. ขจร สุขพานิช เห็นว่า ระยะทางจากเทือกเขาอัลไตถึงประเทศไทยอยู่ห่างกันมาก และคนไทยอาจไม่สามารถรอดชีวิดได้จากการเดินทางผ่านทะเลทรายโกบี

แถบ ตอนกลางของจีน

     เป็นแนวคิดซึ่งเริ่มมาจาก ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ในหนังสือเรื่อง The Thai Race: Elder Brother of the Chinese (ชนชาติไทย: พี่ชายของชนชาติจีน) โดยเสนอว่าชนชาติไทเคยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ต่อมา ชนชาติไทถูกชนชาติจีนมาปะทะจึงต้องถอยร่นไปในหลายทิศทาง ซึ่งส่วนมากได้ถอยไปยังแม่น้ำแยงซีและมณฑลยูนนานและตั้งอาณาจักรน่านเจ้า[11]

     * แนวคิดนี้มีนักประวัติศาสตร์เห็นด้วยจำนวนหนึ่ง เช่น วูลม์แรม อีเบอร์หาด ในหนังสือ A History of China (ประวัติศาสตร์จีน) และ ศจ. ขจร สุขพานิช ในบทความ "ถิ่นกำเนิดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย"[12]

     * ส่วนนักประวัติศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วย เช่น ศจ. วิลเลียม เจ. เก็ดนีย์, ดร. เฟรเดอริก โมต, ชาร์ล โรนีย์ แบคคัส,[12] และวินัย พงศ์ศรีเพียร[13]

     * แบคคัสให้เหตุผลว่าคำในภาษาไทยไม่มีในคำภาษาน่านเจ้า, คำในภาษาน่านเจ้าส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับกลุ่มภาษาธิเบต-พม่ามากที่สุด ซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับภาษาไทยเท่าใดนัก และรากฐานและพื้นฐานระหว่างวัฒนธรรมอ้ายลาวกับวัฒนธรรมน่านเจ้ามีความแตก ต่างกัน[14]

     * วินัย พงศ์รีเพียรได้อ้างงานเขียนของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดซ ซึ่งกล่าวว่าชนชาติไทยปรากฏในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16[13]

แถบ ตอนใต้ของจีน

     เป็นแนวคิดซึ่งเสนอว่าเดิมคนไทยเคยอาศัยอยู่บนเกาะไหหลำ มณฑลกวางสี ไกวเจา และยูนนาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคำพ้องกับภาษาไทยจำนวนมาก[13] นักภาษาศาสตร์จึงเสนอว่าเดิมชาวไทยเคยอยู่อาศัยในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน จากนั้นอพยพไปยังยูนนาน ก่อนที่จะอพยพลงมายังคาบสมุทรอินโดจีน[13] แต่การศึกษาในระยะต่อมา แนวคิดดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นว่าชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบมณฑลกวางสี หรือเวียดนามแถวเดียนเบียนฟู[15]

     * นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วย เช่น ศจ.เจมส์ อาร์. เอ. แชมเบอร์แลน, ศจ.หลีฟ้ง-ก้าย, ศจ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร และ ดร.มาร์วิน บราวน์[16]

     ต่อมา รายงาน The Archaeological Excavation in Thailand (การขุดค้นโบราณคดีในประเทศไทย) ของ ดร.เบีย ซอเรสเสน นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก ได้เสนอว่า ชนชาติไทยถือกำเนิดบริเวณตอนใต้ของจีน อพยพขึ้นเหนือ แล้วอพยพกลับลงมาอีก[17] จากหลักฐานซึ่งปรากฏว่ามีคนไทยหมู่หนึ่งเคยพูดภาษาไทยมานานถึง 3,777 ปีมาแล้ว[18]

     * พิสิฐ เจริญวงศ์ ได้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว และนับว่าภาคอีสานของไทยเป็นจุดเริ่มต้นของ วัฒนธรรมยุคโลหะในเอเชีย[18]

     * จิตร บัวบุศย์ ได้เสนอว่าวัฒนธรรมไทยเริ่มขึ้นที่บ้านเชียง และคนไทยเคยอพยพขึ้นไปทางเหนือแล้วย้อนกลับลงมาอีก

     * อย่างไรก็ตาม งานเขียนของ ศจ.ชิน อยู่ดี ระบุว่า วัฒนธรรมบ้านเชียงไม่สามารถระบุได้ว่ามนุษย์บ้านเชียงเป็นคนไทย เพราะในอดีตเคยมีการอพยพขึ้นเหนือและลงใต้อยู่หลายครั้ง

แถบ หมู่เกาะ

     จากการศึกษาความหนาแน่นของหมู่เลือดพิเศษซึ่งมักพบในคนไทย มีความหนาแน่นมาทางตอนใต้แล้วค่อยลดลงเมื่อขึ้นมาทางเหนือ ในปี พ.ศ. 2506 นพ.สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ จึงเสนอว่าชนชาติไทยอาจอพยพขึ้นไปทางเหนือ[19]

     * พลตรีดำเนิร เลขะกุล แสดงความเห็นว่า ผลการตรวจอาจไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากผู้ที่ตรวจอาจมิใช่คนไทยทั้งหมด

     * ศจ.ขจร สุขพานิช แสดงความเห็นว่า ดินแดนแถบหมู่เกาะมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าดินแดนประเทศไทย จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการอพยพไปอยู่ที่อื่น[20]

ดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน

     สุจิตต์ วงศ์เทศ ได้เสนอในบทความ "คนไทยไม่ได้มาจากไหน" ว่า คนไทยได้อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยเกิดจากการรวมตัวกันของแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นประเทศเดียวกัน เนื่องจากวัฒนธรรมพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และการที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเหมือนกัน โดยถือว่าคนที่พูดภาษาที่คล้ายคลีงกันเป็นบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมอันก่อให้ เกิดพัฒนาการมาเป็นคนไทยในปัจจุบัน[21] อย่างไรก็ตาม ประชาชนเหล่านี้ไม่ค่อยมีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ แต่เน้นไปทางแว่นแคว้นมากกว่า[22]

รัฐ โบราณในประเทศไทย

     จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว[23] โดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่าง[24]

* อาณาจักรทวารวดี

* อาณาจักรละโว้

* อาณาจักรฟูนัน

* อาณาจักรขอม

* แคว้นจำปาศักดิ์ อาณาจักรเจนละ

* แคว้นศรีจทาศะปุระ

* อาณาจักรโคตรบูร

* อาณาจักรหริภุญชัย

* อาณาจักรโยนก เชียงแสน

* รัฐผั่น-ผั่น

* อาณาจักรตามพรลิงก์

* รัฐลังกาสุ

* รัฐเชียะโท้

 

สมัย อาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา

     ในปี พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 ได้มีการสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี ข้อมูลทางประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยช่วงแรกมาจากศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบ กล่าวได้ว่า ในสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์หรือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุข และทรงปกครองประชาชนในรูปแบบ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นเสมือนพ่อ ผู้ใกล้ชิดกับราษฏร สภาพการเมืองและสังคมในสมัยนั้นมีสิทธิและเสรีภาพ กษัตริย์มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร การดำรงชีวิตของผู้คนได้รับการรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ทั้งด้านเกษตรกรรมและค้าขาย ยุคสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

     ในช่วงเวลาเดียวกันอาณาจักรล้านนา ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยพญามังราย ที่ขยายอำนาจมาจากลุ่มแม่น้ำกกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยา หรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19-20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดเชียงใหม่ได้ปราชัยต่อพม่า ในปีพ.ศ. 2101 ถูกพม่ายึดครองอีกครั้งในราวปี 2310 กระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2318 สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช และ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนา โดยหลังจากนั้น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ได้ทรงปกครองอาณาจักรล้านนา ในฐานะประเทศราชสยาม

 

สมัย อาณาจักรอยุธยา

     อยุธยาในช่วงแรกนั้นมิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้ง ปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความ สัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้อย่างรวดเร็ว

     ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุง ศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น

     อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรอยุธยาได้ประสบกับความเสื่อมถอย เนื่องมาจากการแย่งอำนาจทางการเมืองระหว่างเจ้านายและขุนนาง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้ามังระได้ส่งกองทัพเข้าปล้นสะดมกรุง ศรีอยุธยาได้สำเร็จ ซึ่งในประวัติศาสตร์นับว่าเป็นการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ซึ่งซ้ำรอยเดิมกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2112

     อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรของคนไทยมาเป็นเวลานานกว่า 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 33 พระองค์[25]

 

สมัย กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

รัช สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

     ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัย อยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

     ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพล ของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ

 

การ เผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก

     ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหา อำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลาย ครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถรักษาเอกราชของตน ไว้ได้

 

การ เปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

     เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมา เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของประเทศ ไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันกษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญ เสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่าง ถาวรเป็นฉบับแรก

     ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนาน เป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร

 

สงคราม โลกครั้งที่สอง

     ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง

     ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

     หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น

สงคราม เย็น

     รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม

     ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่

การ พัฒนาประชาธิปไตย

     หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้น

     สุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

อ้าง อิง

   1. ^ พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ. (2547). ประวัติศาสตร์ไทย. ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด. หน้า 401.
   2. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 58.
   3. ^ 3.0 3.1 3.2 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 2.
   4. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 2-3.
   5. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 3.
   6. ^ 6.0 6.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 4.
   7. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 4-5.
   8. ^ 8.0 8.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 5.
   9. ^ 9.0 9.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 6.
  10. ^ 10.0 10.1 10.2 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 19.
  11. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 19-20.
  12. ^ 12.0 12.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 20.
  13. ^ 13.0 13.1 13.2 13.3 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 22.
  14. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 20-22.
  15. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 23.
  16. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 24.
  17. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 24-25.
  18. ^ 18.0 18.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 25.
  19. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 25-26.
  20. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 26.
  21. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 31.
  22. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 30.
  23. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 6-7.
  24. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 7-18.
  25. ^ ขุนวรวงศาธิราช (พ.ศ. 2091) มีพระอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา แต่นักประวัติศาสตร์ไทยในสมัยหลังไม่ยอมรับ. แหล่งอ้างอิง: ราชบัณฑิตยสถาน. พระนามพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา

บรรณานุกรม    

* วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2545). บรรพบุรุษไทย: สมัยก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 974-13-1780-8.

 

ขอขอบคุณ : http://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์ไทย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น